Admission Announcement

Bachelor of Fine and Applied Arts in

Experience Design for Integrated Media

ประจำปีการศึกษา 2568 TCAS รอบที่ 1 Portfolio

ประกาศรับสมัครรอบ TCAS 1 Portfolio ปี 2568 ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบประสบการณ์สำหรับสื่อบูรณาการ (เดิม การออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ)
จำนวนรับสมัคร 10 คน
Portfolio มี 3 ส่วน ประกอบด้วย เรียงความแนะนำตนเอง ผลงานทักษะพื้นฐานทางศิลปะ และผลงานทักษะการออกแบบประสบการณ์
รับสมัครผ่านเว็บไซต์ ชำระเงิน และส่ง Portfolio ผ่าน Google Form ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2567
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

แฟ้มรวบรวมผลงาน (Portfolio) จัดทำขึ้นด้วยตนเองในช่วงการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าซึ่งแสดงถึงทักษะด้านศิลปะ และสื่อสร้างสรรค์ ในรูปเล่มขนาดกระดาษ A4 ไม่เกิน 10 หน้า (ไม่รวมปก) บรรจุผลงานที่แสดงให้เห็นถึงทักษะพื้นฐานทางศิลปะและการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในหลักสูตรการออกแบบประสบการณ์สำหรับสื่อบูรณาการ และทักษะการคิดสร้างสรรค์ในการผลิตผลงานทางศิลปะและการออกแบบ การเล่าเรื่อง รวมถึงการนำเสนองาน ในสมุดแฟ้มรวบรวมผลงานประกอบด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เรียงความแนะนำตนเอง ส่วนที่ 2 ผลงานทักษะพื้นฐานทางศิลปะ และส่วนที่ 3 ผลงานทักษะการออกแบบประสบการณ์

ส่วนที่ 1 เรียงความแนะนำตนเอง เพื่อแสดงเจตจำนง เป้าหมาย และประสบการณ์ในการเรียนด้านการออกแบบประสบการณ์ในระดับปริญญาตรี

ส่วนที่ 1 เรียงความแนะนำตนเอง
หน้าที่ ประเภทผลงาน คำอธิบาย
1 เรียงความแนะนำตนเอง เรียงความเขียนด้วยรายมือตนเองแนะนำตัวผู้สมัคร และแสดงเจตจำนงค์ในการศึกษาระดับปริญญาตรีความยาว ๑ หน้ากระดาษ ในประเด็นดังต่อไปนี้

1.    ความภาคภูมิใจ หรือแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้านการออกแบบ

2.    ประสบการณ์ของผู้สมัครในการพัฒนาทักษะทางศิลปะและการออกแบบ

3.    ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่ท้าทาย และการจัดการปัญหา

4.    ความคาดหวังที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตร ศป.บ. การออกแบบประสบการณ์สำหรับสื่อบูรณาการ

ส่วนที่ 2 ผลงานทักษะพื้นฐานทางศิลปะ เพื่อแสดงความพร้อมในการเรียนด้านการออกแบบโดยแสดงประสบการณ์จากการฝึกทักษะทางศิลปะในช่วงการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า นำเสนอผลงานอยู่ในหน้ากระดาษ A4 โดยใน 1 หน้ากระดาษ จัดวางองค์ประกอบรูปแบบหน้ากระดาษอย่างเรียบร้อยสวยงาม

ส่วนที่ 2 ผลงานทักษะพื้นฐานทางศิลปะ
หน้าที่ ประเภทผลงาน คำอธิบาย
2 การวาดเส้นขาว–ดำ (Black & White Drawing) ผลงานวาดเส้นขาว–ดำ สามารถเป็นได้ทั้งภาพเหมือนหุ่นนิ่ง (Still Life) หรือภาพทัศนียภาพ (Perspective) เพื่อแสดงทักษะพื้นฐานทางศิลปะ การให้น้ำหนักของแสงและเงา และการจัดองค์ประกอบอย่างสร้างสรรค์
3 การวาดเส้น และลงสี (Colored Drawing) ผลงานวาดเส้น และลงสี สามารถเป็นได้ทั้งภาพเหมือนหุ่นนิ่ง (Still Life) หรือภาพทัศนียภาพ (Perspective) เพื่อแสดงทักษะพื้นฐานทางศิลปะ การลงสี และการจัดองค์ประกอบ อย่างสร้างสรรค์
4 หุ่นจำลองจากวัสดุตามความสนใจ ผลงานหุ่นจำลองสามมิติที่ผลิตด้วยวัสดุจริง แสดงถึงทักษะในการจัดการวัสดุ ทักษะด้านมิติสัมพันธ์ และทักษะการจัดองค์ประกอบของรูปทรงสามมิติ
5 ภาพถ่าย 1 ชุด จำนวน 4 ภาพ ชุดของภาพถ่าย 4 ภาพ ที่บอกเล่าแก่นสารของเรื่องราวเดียวกัน สะท้อนทักษะในการเล่าเรื่องผ่านภาพ การควบคุมแสง และการจัดองค์ประกอบ
6 ผลงานที่ผลิตขึ้นตามความสนใจส่วนตัวของผู้สมัคร ผลงานลักษณะอื่น ๆ ที่แสดงทักษะเฉพาะตามความสนใจ และความเชี่ยวชาญของผู้สมัคร
การนำเสนอผลงานในแต่ละหน้า ต้องประกอบไปด้วยเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดผลผลิตของงาน แนวความคิด และกระบวนการสร้างสรรค์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.  รูปของผลงาน – แสดงภาพผลผลิตของผลงานสร้างสรรค์

2.  บรรยายแนวความคิดของผลงาน – อธิบายถึงที่มาของแนวคิด และรายละเอียดของแนวคิด

3.  บรรยายกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน – อธิบายขั้นตอนในการออกแบบผลงาน เช่น การค้นคว้า การทดลอง การทำแบบร่าง หรือการทำต้นแบบ เป็นต้น

4.  บรรยายกระบวนการผลิตผลงาน – อธิบายขั้นตอน วัสดุ หรือเทคนิคการผลิตในการผลิตชิ้นงานตามจริง

ส่วนที่ 3 ทักษะการออกแบบประสบการณ์ ให้ผู้สมัครนำเสนอผลงานการออกแบบประสบการณ์ผ่านหัวข้อที่กำหนดให้

“เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 รัฐบาลประเทศไทยได้รรับประติมากรรม ‘Golden Boy’ กลับมาจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังได้ตรวจสอบแล้วพบว่าถูกลักลอบนำออกจากราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมาย” จึงเป็นกรณีศึกษาให้นักออกแบบได้ออกแบบประสบการณ์ผ่านนิทรรศการชั่วคราวในลักษณะซุ้มขนาด 9 ตารางเมตร ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว คุณค่าทางประวัติศาสตร์ และคุณค่าทางศิลปะของงานประติมากรรมชิ้นนี้ โดยกำหนดรูปแบบของเนื้อหา การมีปฏิสัมพันธ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า สถานที่จัดแสดง จำนวนของผู้ชม แนวคิดในการออกแบบ และเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบในการจัดแสดง โดยนำเสนอรายละเอียดของงานออกแบบประสบการณ์ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ส่วนที่ 3 ผลงานทักษะการออกแบบประสบการณ์
หน้าที่ ประเภทผลงาน คำอธิบาย
7 แนวคิดทางการออกแบบ(Design Concept) เขียนสรุปเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอของชิ้นงานประติมากรรม อธิบายแนวคิดของงานออกแบบเป็นวลีสั้น ๆ และคำสำคัญ 3 คำ ซึ่งสะท้อนถึงสิ่งที่ต้องการสื่อสารผ่านงานออกแบบ และนำเสนออารมณ์และโทน (Mood & Tone) ผ่านการทำ Moodboard
8 แบบร่างงานออกแบบ

(Sketch Design)

นำเสนอแนวคิดสู่ภาพร่างของงานออกแบบ แสดงรายละเอียดการมีปฏิสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงเนื้อหาผ่านประสาทสัมผัส เช่น แสง เสียง กลิ่น หรือการสัมผัส เป็นต้น โดยคำนึงถึงรูปแบบของเนื้อหา สถานที่ แนวคิดในการออกแบบ และเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบในการจัดแสดง
9 ภาพร่างด้านต่าง ๆ

(Multiview Sketch)

นำเสนอภาพด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ เพื่อแสดงรายละเอียดภาพรวมของงานออกแบบ เช่น ภาพด้านบน (Top View / Plan) และภาพด้านข้าง (Side View / Elevation) เป็นต้น โดยระบุขนาดสัดส่วนของชิ้นงานที่สำคัญ มีหน่วยเป็นเซนติเมตร แสดงมิติสัมพันธ์ของงานออกแบบ
10 ฉากทัศน์งานออกแบบ

(Design Scenario)

นำเสนอฉากทัศน์งานออกแบบในลักษณะ Storyboard แสดงขั้นตอนของการมีปฏิสัมพันธ์ โดยแบ่งเป็นช่องของแต่ละฉาก จำนวน 6–12 ช่อง ตามความเหมาะสมกับการนำเสนอรายละเอียด และขั้นตอนของการมีปฏิสัมพันธ์ และประสบการณ์ที่เกิดขึ้น

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติและสื่อบูรณาการ กำหนดให้ผู้สมัครส่งเอกสารประกอบการสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี แบบ Portfolio รอบที่ 1 ผ่าน Google Form สามารถเข้าถึงได้จาก https://forms.gle/fBeQTiviTosCG6HT8 ทั้งนี้ของดรับเอกสารประกอบการสมัครทางไปรษณีย์ หากปฏิบัติเป็นอื่นทางคณะกรรมการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณา

กำหนดการ วันที่
–  รับสมัครทางเว็บไซต์ https://new.reg.kmitl.ac.th/admission และชำระเงินค่าสมัครผ่านธนาคาร วันที่ 20 กันยายน – 6 ธันวาคม พ.ศ.2567
–  ส่ง Portfolio ผ่านทาง Google Form

   หมายเหตุ หลักสูตรฯ ไม่รับ Portfolio ฉบับจริง ขอให้ส่งเป็นไฟล์ดิจิทัลตามประกาศเท่านั้น

วันที่ 20 กันยายน – 20 ธันวาคม พ.ศ.2567
–  ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2568
–  สอบสัมภาษณ์ และทวนสอบผลงานที่ปรากฏใน Portfolio

   (ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์รายงานตัวทุกคนก่อนเวลา 9:00 น.)

วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2568

เวลา 9:00 น. – 16:00 น.

–  ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์  Clearing House วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2568
–  ยืนยันมีสิทธิ์ Clearing House ผ่านระบบของสมาคม

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

วันที่ 5 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
–  ประกาศผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาทางเว็บไซต์

https://new.reg.kmitl.ac.th/admission/

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
–  ชำระเงินค่ายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา

https://new.reg.kmitl.ac.th/admission

วันที่ 18 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568